ผู้จัดจำหน่ายและนำเข้า อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ห้องแลป และสื่อการเรียนการสอน

49th Anniversary

ชุดการเกิดลม

CODE : 2014045

฿ 320

Last Update : 11/03/2024

Availability : สินค้าพร้อมจำหน่าย 237 ชุด

คุณลักษณะ

  1. สำหรับศึกษาหลักการเกิดลมอย่างง่าย เพื่อแสดงว่าลมคืออากาศที่กำลังเคลื่อนที่
  2. ประกอบด้วย ท่อโลหะด้านในติดใบพัด มีปุ่มจับติดด้านข้าง

ชุดการเกิดลม
ลม (Wind) หมายถึง การเคลื่อนที่ของอากาศในแนวระดับจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เฉพาะในทางนอนแต่อย่างเดียว อันเนื่องจากความแตกต่างอุณหภูมิและความกดอากาศของทั้งสองบริเวณนั้น

ลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศ
โดยปกติดินและน้ำ มีคุณสมบัติในการรับและคายความร้อนไม่เท่ากันกล่าวคือดินจะรับและคายความร้อนได้ดีกว่าน้ำ ด้วยเหตุนี้เองเมื่อพื้นดินและพื้นน้ำได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิแตกต่างกันคือ

  • ตอนกลางวัน อากาศบริเวณเหนือพื้นน้ำ จะเย็นกว่าอากาศเหนือพื้นดิน
  • ตอนกลางคืน อากาศเหนือพื้นดิน จะเย็นกว่าอากาศบริเวณเหนือพื้นน้ำ

เมื่ออากาศมีอุณหภูมิสูง โมเลกุลของอากาศจะขยายตัว (ความหนาแน่นและความกดอากาศต่ำ) และลอยตัวขึ้น ทำให้อากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ (ความหนาแน่นและความกดอากาศสูง) จากบริเวณข้างเคียงเคลื่อนเข้าแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศลักษณะนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดลม

ชุดการเกิดลม
ลมเกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศหรือความดันอากาศของบริเวณสองบริเวณใด ๆ โดยจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง (อากาศเย็น) เข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ (อากาศร้อน) เสมอ นักเรียนสามารถทำการทดลองและพิสูจน์ความจริงได้โดยใช้ชุดการเกิดลม 2014045 ทำการทดลองดังต่อไปนี้

วิธีทดลอง

  1. นำชุดการเกิดลงวางบนตะแกรงลวดซึ่งวางอยู่บนที่บังคับลมของตะเกียงดังรูป
  2. เปรียบเทียบอุณหภูมิของชุดการเกิดลมกับอุณหภูมิภายนอก พร้อมกับสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของใบพัด บันทึกผล
  3. จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ แล้วนำไปวางไว้ใต้ตะแกรงลวดให้อยู่ตรงกึ่งกลางของชุดการเกิดลม แล้วปฏิบัติตามข้อ 2
  4. เลื่อนตะเกียงออกมาข้างนอก พร้อมสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของใบพัดแล้วเลื่อนตะเกียงเข้าไปอีกครั้งพร้อมกับสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของใบพัด บันทึกผลการทดลอง

คำเตือน
ขณะทำการทดลองและหลังจากการทดลองทุกครั้งไม่ควรสัมผัสกับท่อโลหะและใบพัด เพราะความร้อนอาจทำให้ผิวหนังผุพองได้ ควรจับส่วนที่เป็นไม้หรือทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ก่อนการเคลื่อนย้าย

หมายเหตุ
อุปกรณ์การทดลอง ได้แก่