ชื่อสารเคมี : แคลเซียมไฮโปคลอไรท์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Calcium hypochloride
สูตรโครงสร้าง : CaCl2O2
ประโยชน์ : ใช้เป็นสารกำจัดแมลงในทางการเกษตร , ใช้ในการแยกโดยการหมุนเหวี่ยง สารฟอกขาว ฟอกสี เป็นสารเคมีที่ในห้องปฏิบัติการ (Latolatary) ละลายน้ำได้ดีมากเมื่อละลายน้ำแล้วจะปล่อยก๊าซคลอรีนออกมาซึ่งเป็นก๊าซพิษ
คุณสมบัติทางเคมี : เป็นผงของแข็งสีขาวกลิ่นคล้ายคลอรีน
จุดเดือด : - ,จุดหลอมเหลว : 177 °C
ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยาเคมี :
- ความคงตัวทางเคมี : สารนี้สามารถสลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสถูกอากาศ และจะสลายตัวอย่างรุนแรงเมื่อสัมผัสกับความร้อน และแสงแดดโดยตรงที่อุณหภูมิ 177 องศาเซลเซียส
- สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารอินทรีย์ สารประกอบไนโตรเจน และสารติดไฟได้
- สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน เปลวไฟ ความชื้น ฝุ่น แหล่งจุดติดไฟและสารที่เข้ากันไม่ได้
- สารอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : การสลายตัวจะทำให้เกิดออกซิเจน คลอรีน และคลอรีนมอนนอกไซด์ขึ้น
- การเกิดปฏิกิริยา : สารนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ และกรด จะให้ก๊าซคลอรีนออกมา เกิดสารประกอบที่ระเบิดได้กับแอมโมเนียและเอมีน
การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด :
- สารนี้ไม่ติดไฟ แต่เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรง และจะทำให้เกิดปฏิกิริยาความร้อนกับสารรีคิว หรือสารที่ลุกติดไฟได้ทำให้เกิดการจุดติดไฟขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะเร่งให้เกิดการสลายตัวปล่อยความร้อนและออกซิเจนออกมา
- ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทอาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน การระเบิดสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าสัมผัสกับคาร์บอนเตตระ คลอไรด์หรือสารประกอบแอมโมเนียแห้งของสารดับเพลิง
การจัดเก็บ :
- เก็บภายในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด
- เก็บในภาชนะที่เย็น แห้งและ มีการระบายอากาศอย่างดี
- ป้องกันการถูกทำลายทางกายภาพ และจากความชื้น
- เก็บแยกจากแหล่งความร้อน หรือจุดติดไฟ สารที่เข้ากันไม่ได้ สารติดไฟได้ สารอินทรีย์ หรือสารออกซิไดซ์อื่น ๆ
- หลีกเลี่ยงการเก็บบนพื้นไม้
- ภาชนะบรรจุสารนี้ที่เป็นถังว่างเปล่าอาจเป็นอันตรายได้เนื่องจากมีการสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น, ของแข็ง
** แหล่งข้อมูลมาจาก ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Calcium hypochloride
สูตรโครงสร้าง : CaCl2O2
ประโยชน์ : ใช้เป็นสารกำจัดแมลงในทางการเกษตร , ใช้ในการแยกโดยการหมุนเหวี่ยง สารฟอกขาว ฟอกสี เป็นสารเคมีที่ในห้องปฏิบัติการ (Latolatary) ละลายน้ำได้ดีมากเมื่อละลายน้ำแล้วจะปล่อยก๊าซคลอรีนออกมาซึ่งเป็นก๊าซพิษ
คุณสมบัติทางเคมี : เป็นผงของแข็งสีขาวกลิ่นคล้ายคลอรีน
จุดเดือด : - ,จุดหลอมเหลว : 177 °C
ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยาเคมี :
- ความคงตัวทางเคมี : สารนี้สามารถสลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสถูกอากาศ และจะสลายตัวอย่างรุนแรงเมื่อสัมผัสกับความร้อน และแสงแดดโดยตรงที่อุณหภูมิ 177 องศาเซลเซียส
- สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารอินทรีย์ สารประกอบไนโตรเจน และสารติดไฟได้
- สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน เปลวไฟ ความชื้น ฝุ่น แหล่งจุดติดไฟและสารที่เข้ากันไม่ได้
- สารอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : การสลายตัวจะทำให้เกิดออกซิเจน คลอรีน และคลอรีนมอนนอกไซด์ขึ้น
- การเกิดปฏิกิริยา : สารนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ และกรด จะให้ก๊าซคลอรีนออกมา เกิดสารประกอบที่ระเบิดได้กับแอมโมเนียและเอมีน
การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด :
- สารนี้ไม่ติดไฟ แต่เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรง และจะทำให้เกิดปฏิกิริยาความร้อนกับสารรีคิว หรือสารที่ลุกติดไฟได้ทำให้เกิดการจุดติดไฟขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะเร่งให้เกิดการสลายตัวปล่อยความร้อนและออกซิเจนออกมา
- ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทอาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน การระเบิดสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าสัมผัสกับคาร์บอนเตตระ คลอไรด์หรือสารประกอบแอมโมเนียแห้งของสารดับเพลิง
การจัดเก็บ :
- เก็บภายในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด
- เก็บในภาชนะที่เย็น แห้งและ มีการระบายอากาศอย่างดี
- ป้องกันการถูกทำลายทางกายภาพ และจากความชื้น
- เก็บแยกจากแหล่งความร้อน หรือจุดติดไฟ สารที่เข้ากันไม่ได้ สารติดไฟได้ สารอินทรีย์ หรือสารออกซิไดซ์อื่น ๆ
- หลีกเลี่ยงการเก็บบนพื้นไม้
- ภาชนะบรรจุสารนี้ที่เป็นถังว่างเปล่าอาจเป็นอันตรายได้เนื่องจากมีการสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น, ของแข็ง
** แหล่งข้อมูลมาจาก ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ