ผู้จัดจำหน่ายและนำเข้า อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ห้องแลป และสื่อการเรียนการสอน

49th Anniversary

การศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

ชุดทดลองนี้สำหรับศึกษาเรื่องเซลล์เบื้องต้น แสดงให้เห็นความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ผู้ทดลองสามารถศึกษาเซลล์กระพุ้งแก้มและเซลลเยื่อหอมผ่านการย้อมสีของเซลล์ได้ทันทีจากเซ็ทการทดลองนี้ พร้อมด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงสุด 400 เท่า ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวกสามารถใช้งานได้นอกสถานที่ โดยการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ (AA 3 ก้อน) สามารถใช้ศึกษาได้เป็นกลุ่มไม่เกิน 30 คน

วัตถุประสงค์

• ศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์แบบยูคาริโอต
• สังเกตความเหมือนและความแตกต่างระหว่างโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

อุปกรณ์การทดลอง

รหัสสินค้า ชื่อสินค้า จำนวน
3094125 Methylene blue 0.1% 450 cc. 1
3092020 Distilled water 1000 cc. 1
3011048 ขวดบีบน้ำกลั่น 250 ซีซี 1
4050230 สไลด์ถาวรใบเลี้ยงเดี่ยวตัดขวาง 1
4050015 สไลด์ถาวรเซลล์เม็ดเลือดกบ 1
4010055 กระจกสไลด์ (72 แผ่นต่อกล่อง) 1
4010051 กระจกปิดสไลด์ 22x22 มม. (100 แผ่น) 1
83KENESH101 กล้องจุลทรรศน์ตาเดียว 1
3019312 หลอดหยดพลาสติก (20 อันต่อชุด) 1
30161796 บีคเกอร์พลาสติก 100 มล. 1

** สามารถซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ไม้จิ้มฟัน, กระดาษทิชชู่, ปากคีบสแตนเลส, แผ่นสไลด์ถาวร

ยูแคริโอตเซลล์ (Eukaryotic cell)

ภายในเซลล์ยูคาริโอต จะประกอบด้วยเยื่อหุ้มเซลล์และของเหลวที่อยู่ภายในเรียก โปรโตพลาสซมึ ส่วนของเหลวยคูาริโอตนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ นิวเคลียสกับไซโตพลาสซึม สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดอยู่คาริโอต ได้แก่พืช สัตว์ สาหร่าย และโปรโตซัว

โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์พืชและสัตว์ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหมือนกัน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีขนาดรูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของหน้าที่ แต่โครงสร้างพื้นฐานหรือองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์

1. ผนังเซลล์ (cell wall) ผนังเซลล์พบในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน

 

 

 

 

 

2. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ อยู่ล้อมรอบเซลล์ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน มีหน้าที่ช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นส่วนที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่นสามารถยืดหดได้มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ มีรูพรุนสำหรับให้สารละลายผ่านเข้าออกได้ เช่น นํ้า นํ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว ยูเรียกรดอะมิโน เกลือแร่ ออกซิเจน และกลีเซอรอลสามารถผ่านเข้าออกได้ง่าย ส่วนสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลย เช่น สารพวกโปรตีนและไขมัน

 

 

 

 

3. ไซโทพลาซึม (cytoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายเจลลี่ซึ่งมีนํ้าโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบ ไซโทพลาซึม เป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ เมแทบอลิซึม (metabolism) ทั้งกระบวนการสร้างและการสลายอินทรียสาร เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆที่จะช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้

 

 

 

4. นิวเคลียส (nucleus) อยู่ในไซโทพลาซึม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเซลล์ ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่รุ่น ลูกหลาน ควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์ ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

 

 

 

 

 

5. คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวของพืชและเซลล์ของโพรทิสต์บางชนิด เช่น สาหร่าย คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมชนิดและปริมาณของสารที่ผ่านเข้า และออกจากคลอโรพลาสต์ส่วนชั้นในจะมีลักษณะยื่นเข้าไปภายในและมีการเรียงกันเป็นชั้น ๆ อย่างมีระเบียบภายในเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโมเลกุลของสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll)และมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาหาร

 

 

 

 

การเปรียบเทียบโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ เซลล์สัตว์ เซลล์พืช
ออร์แกเนลล์ (Organelles) • นิวเคลียส (Nucleus)
• นิวคลีโอลัส (Nucleolus in nucleus)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic
reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ
(Rough endoplasmic reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ
(Smooth endoplasmic reticulum)
• ไรโบโซม (Ribosome)
• ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
• กอลจิแอปพาราตัส (Golgi apparatus)
• ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
• ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
• เวสิเคิล (Vesicle)
• แวคิวโอล (Vacuole)
• ไลโซโซม (Lysosome)
• เซนทริโอล (Centriole)
• นิวเคลียส (Nucleus)
• นิวคลีโอลัสในนิวเคลียส (Nucleolus in nucleus)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ
(Rough endoplasmic reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ
(Smooth endoplasmic reticulum)
• ไรโบโซม (Ribosomes)
• ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
• กอลจิแอปพาราตัส หรือ ดิกไทโอโซม (dictiosomes)
• ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
• ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
• เวสิเคิล (Vesicle)
• คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) และ
พลาสติด (plastid)
• แวคิวโอล (Central vacuole)
• โทโนพลาสต์ (Tonoplast - central
vacuole membrane)
• เปอรอกซิโซม (Peroxisome)
• ไกลออกซิโซม (Glyoxysome)
อื่น ๆ • ซิเลีย (Cilium)
• แฟลเจลลัม (Flagellum)
• พลาสมา เมมเบรน (Plasma membrane)
• พลาสมา เมมเบรน (Plasma membrane)
• ผนังเซลล์ (Cell wall)
• พลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata)
• แฟลเจลลัมในเซลล์สืบพันธุ์ (Flagellum in gametes)

 

อ้างอิง
https://sites.google.com/site/ccellplanet/sell-phuch-1
https://www.thinglink.com/scene/700106945306034177

 

การศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์