รางแอร์แทรค (Air Track) เป็นอุปกรณ์การทดลองทางด้านกลศาสตร์แบบหนึ่งโดยการพ่นอากาศเข้าไปในรางแล้วปล่อยลมออกมาที่ผิวของราง ซึ่งจะได้ชั้นอากาศบางๆระหว่างรางและตัวสลิปเปอร์ซึ่งชั้นอากาศบางนี้จะทำให้ตัวสลิปเปอร์ลอยขึ้น ด้วยความเสียดทานที่ต่ำบนผิวรางทำให้การเคลื่อนตัวเรียบตัวสลิปเปอร์สามารถเคลื่อนที่ได้โดยเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงไปตามรางโดยเกือบปราศจากแรงเสียดทานและลดข้อผิดพลาดได้อย่างมากเนื่องจากผลที่เกิดจากแรงเสียดทานด้วยการทดลองแบบเดิม ผลการทดลองที่ได้จะเข้าใกล้ผลที่ได้จากทางทฤษฎี นอกจากนี้อุปกรณ์ดังกล่าวทำให้ปรากฎการณ์ทางการทดลองเห็นจริงมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับได้ต่อนักศึกษาที่ทำการทดลอง โดยการใช้อุปกรณ์นี้ กฏการเคลื่อนที่ต่างๆที่ประมาณว่าไร้แรงเสียดทานในหลายๆกรณีสามารถถูกสังเกตและทำการศึกษาได้ เมื่อทำการติดตั้งตัวไทม์เมอร์และใส่ลมเข้าสู่ตัวรางแอร์แทรค ก็สามารถทำการวัดปริมาณเชิงกลและทำการทดสอบกฏต่างๆทางกลศาสตร์ให้เห็นจริงได้ อุปกรณ์นี้จึงเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ด้านการทดลองทางฟิสิกส์ในกลุ่มการทดลองเล็กๆหลายๆกลุ่ม โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและการสอนแบบสาธิตในระดับมหาวิทยาลัย
คุณลักษณะ
- ราง
- ส่วนรองรับการเคลื่อนที่ของรถมีลักษณะสามเหลี่ยม สามารถปรับประดับได้ 3 จุด
- ทำจากโลหะไม่เป็นสนิม
- ความยาวของรางไม่น้อยกว่า 200 ซม. มีสเกลบอกระยะ 0 – 200 ซม. ความละเอียด 0.1 ซม.
- ขนาดของรูอากาศ 0.6 หรือ 0.8 mm ค่าความผิดพลาด < 0.10 mm ที่ช่วงความยาวรวม
- น้ำหนักรวมไม่เกิน 10 กิโลกรัม
- อุณหภูมิช่วงการทำงานปกติ 0 - 40 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ < 85 %
- เครื่องปั๊มลม
- ใช้กับไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์
- ใช้กำลังไฟฟ้า 250 วัตต์
- ช่วงการยกตัวของรถทดลองกับราง > 0.10 มม. รถสามารถวิ่งได้อย่างราบเรียบ
- ให้ความดันอากาศไม่น้อยกว่า 5.8 Kpa
- ท่อลมยาวไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
- ขนาดไม่น้อยกว่า Æ210 x 290 มม.
- เครื่องบันทึกเวลา
- หน้าจอแสดงผลแบบ LED แสดงตัวเลขไม่น้อยกว่า 6 ตัวเลข
- หน่วยการวัด ms, s, cm/s, cm/s2, KHz
- มีฟังก์ชัน 10 ฟังก์ชัน สำหรับทดลองเรื่องความเร็ว ความเร่ง การชน และเวลา
- ความละเอียดของการจับเวลาประมาณ 10 ไมโครวินาที
- ตรวจจับสัญญาณการเคลื่อนที่โดย เซนเซอร์แสง (Photoelectric Sensor) 2 ตัว
- ระบบป้องกันไฟลัดวงจรด้วยฟิวส์ 1 A
- ใช้กับไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์
- มีฟังก์ชันการทำงานเพื่อวัดปริมาณที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว ความเร่ง การชน และเวลา
- สามารถอ่านข้อมูลย้อนหลังได้ 20 ค่า
- อุปกรณ์ประกอบการทดลอง
- วัตถุทรงสามเหลี่ยม สามารถใช้งานร่วมกับรางได้ ความยาวไม่น้อยกว่า 12 ซม. 2 คัน และ 25ซม. 2 คัน
- แท่งมวลสำหรับเพิ่มน้ำหนักรถแต่ละแท่งมีมวลไม่น้อยกว่า 50 กรัม จำนวนไม่น้อยกว่า 10 อัน
- ที่จับเซนเซอร์แสงแบบติดเข้ากับร่องบนตัวราง จำนวนไม่น้อยกว่า 2 อัน
- Glider สำหรับติดบนตัวรถแบบ 1 แถบ จำนวน 1 อัน เป็นอย่างน้อย
- Glider สำหรับติดบนตัวรถ แบบ 2 แถบ ระยะห่างมีค่าต่างๆ กัน 3 คู่ เป็นอย่างน้อย
- ห่วงสปริงสามารถยึดติดกับปลายรางและที่ตัวรถได้ จำนวน 6 อัน
- ลูกตุ้มน้ำหนักผ่าซีก 10 กรัม จำนวน 1 อัน 20 กรัม จำนวน 2 อัน และ 50 กรัม จำนวน 2 อัน เป็นอย่างน้อย
- ที่แขวนตุ้มน้ำหนัก 50 กรัม จำนวน 1 อัน เป็นอย่างน้อย
- สปริงค่า k ที่แตกๆ กันไม่น้อยกว่า 4 อัน
- รอกเดี่ยวทำด้วยวัสดอย่างดีสำหรับยึดติดกับปลายราง จำนวน 2 อัน เป็นอยางน้อย
- อุปกรณ์สำหรับทดลองเรื่องการชนทั้งแบบยืดหยุ่นและไม่ยืดหยุ่น จำนวน 1 ชุด
- คู่มือประกอบการใช้งานเป็นภาษาไทย